วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

โรคระบาด Covid-19

โรคระบาด Covid-19


ไวรัสโคโรนาคืออะไร

ไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสในวงศ์ใหญ่ที่เป็นสาเหตุของโรคทั้งในสัตว์และคน ในคนนั้น ไวรัสโคโรนาหลายสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง เช่น โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) ไวรัสโคโรนาที่ค้นพบล่าสุดทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19

 

โรคโควิด 19 คืออะไร

โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ไวรัสและโรคอุบัติใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 ขณะนี้โรคโควิด 19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก

 

อาการของโรคโควิด 19 คืออะไร

อาการทั่วไปของโรคโควิด 19 พี่พบมากที่สุดคือ ไข้ ไอ และอ่อนเพลีย อาการที่พบน้อยกว่าแต่อาจมีผลต่อผู้ป่วยบางรายคือปวดเมื่อย คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ท้องเสีย ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น หรือผื่นตามผิวหนัง หรือสีผิวเปลี่ยนตามนิ้วมือนิ้วเท้า อาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงนักและค่อยๆเริ่มทีละน้อย บางรายติดเชื้อแต่มีอาการไม่รุนแรง

ผู้ป่วยส่วนมาก (80%) หายป่วยได้โดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ติดเชื้อโควิด 19 มีอาการหนักและหายใจลำบาก ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือมะเร็งมีแนวโน้มที่จะมีอาการป่วยรุนแรงกว่า อย่างไรก็ตามทุกคนสามารถติดโรคโควิด 19 ได้และอาจป่วยรุนแรง คนทุกเพศทุกวัยที่มีอาการไข้ และ/หรือไอร่วมกับอาการหายใจลำบาก/ติดขัด เจ็บหน้าอก เสียงหาย หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ทันที หากเป็นไปได้ แนะนำให้โทรไปล่วงหน้า เพื่อสถานพยาบาลจะได้ให้คำแนะนำ

 

เราควรทำอย่างไรหากมีอาการของโรคโควิด 19 และควรจะไปพบแพทย์เมื่อใด

หากมีอาการไม่รุนแรงเช่นไอเล็กน้อยหรือไข้ต่ำๆ โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ อยู่บ้าน กักตัวเอง และติดตามดูอาการ ปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในการแยกตัวเองจากผู้อื่น

อย่างไรก็ตาม หากท่านอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ท่านต้องเฝ้าระวังอาการไข้และไปพบแพทย์ เมื่อไปสถานพยาบาล ควรสวมหน้ากากและเว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่นและไม่เอามือไปจับพื้นผิวต่างๆ หากเป็นเด็กป่วย ให้ดูแลเด็กให้ทำตามคำแนะนำนี้ด้วย

ไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการหายใจลำบากและ/หรือเจ็บหน้าอก หากเป็นไปได้ โทรไปก่อนล่วงหน้า เพื่อทางสถานพยาบาลจะได้ให้คำแนะนำ

 

โรคโควิด 19 แพร่ระบาดได้อย่างไร

เราสามารถรับเชื้อจากผู้ติดเชื้อโควิด 19 คนอื่น โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูกหรือปากซึึ่งออกมาเมื่อผู้ป่วยโรคโควิด 19 ไอ จามหรือพูด ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก ไปไม่ได้ไกล และจะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว เรารับเชื้อโรคโควิด 19 ได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร ละอองเหล่านี้ยังตกลงสู่วัตถุและพื้นผิวต่างๆ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู ราวจับ และเมื่อคนเอามือไปจับพื้นผิวเหล่านั้นแล้วมาจับตา จมูกหรือปาก ก็จะมีเชื้อโรค นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอลเจลถูมือ

องค์การอนามัยโลกกำลังทำการศีกษาวิจัยเรื่องวิธีการแพร่เชื้อและจะได้มาเผยแพร่ข้อค้นพบในลำดับต่อไป

 

เราจะสามารถติดเชื้อโควิด 19 จากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการได้หรือไม่

โรคโควิด 19 แพร่ทางละอองจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยไอ หรือมีอาการอื่นเช่นไข้หรืออ่อนเพลีย ผู้ป่วยโควิด 19 จำนวนมากมีอาการเพียงเล็กน้อยโดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะติดเชื้อโควิด 19 จากผู้ป่วยที่ไอเล็กน้อยและไม่รู้สึกป่วยเลย

มีรายงานบางฉบับระบุว่าผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการเลยก็สามารถแพร่เชื้อได้ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบกันว่ากรณีนี้เกิดมากน้อยเท่าใดองค์การอนามัยโลกกำลังทำการศีกษาวิจัยเรื่องการแพร่เชื้อและจะได้มาเผยแพร่ข้อค้นพบในลำดับต่อไป

 

เราจะป้องกันตัวเองและคนที่เรารักได้อย่างไรหากไม่รู้ว่าใครมีเชื้อบ้าง

การรักษาสุขอนามัยของมือและมารยาทในการไอ/จามเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำตลอดเวลาและเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันตัวเองและคนที่เรารัก

เมื่อเป็นไปได้ รักษาระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อยืนใกล้คนที่กำลังไอหรือจาม เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจยังไม่แสดงอาการ การเว้นระยะห่างจากทุกคนก็ยังเป็นความคิดที่ดีหากคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด 19

 

เราควรทำอย่างไรหากเราไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด 19

หากคุณไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 คุณก็อาจจะติดเชื้อได้

การสัมผัสใกล้ชิดหมายถึงอาศัยอยู่ด้วยกันหรืออยู่ใกล้กันภายในระยะ 1 เมตรกับผู้ป่วย ในกรณีเหล่านี้ ควรอยู่บ้าน

อย่างไรก็ตาม หากท่านอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ท่านต้องเฝ้าระวังอาการไข้และไปพบแพทย์ เมื่อไปสถานพยาบาล ควรสวมหน้ากากและเว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่นและไม่เอามือไปจับพื้นผิวต่างๆ หากเป็นเด็กป่วย ให้ดูแลเด็กให้ทำตามคำแนะนำนี้ด้วย

หากคุณไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ให้ปฏิบัติตามนี้

  • หากมีอาการป่วย แม้เพียงอาการไม่รุนแรง ให้แยกตัวเอง
  • แม้คุณจะคิดว่าไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับเชื้อ แต่มีอาการ ก็ควรจะแยกกักตัวเองและสังเกตอาการ
  • คุณมีแนวโน้มมากกว่าที่จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในระยะเริ่มแรกที่อาการไม่รุนแรง  
  • หากคุณไม่มีอาการใดแต่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ให้แยกกักตัวเองเป็นเวลา 14 วัน

หากคุณเป็นผู้ป่วยโรคโควิด 19 (ยืนยันโดยการตรวจ) ให้แยกตัวเองต่อ 14 วันแม้อาการจะหมดไปแล้วเพื่อเป็นการระมัดระวัง ขณะนี้ยังไม่แน่นอนว่าคนยังสามารถแพร่เชื้อต่อได้เป็นเวลาเท่าใดหลังจากหายแล้ว ให้ทำตามคำแนะนำของทางการเรื่องการแยกตัวอย่างเคร่งครัด

 


 
เราต้องทำอย่างไรหากไม่มีอาการอะไร แต่คิดว่าอาจไปสัมผัสเชื้อโควิด 19 มา แปลว่าต้องกักตัวเองหรือไม่

การกักตัวเองคือการแยกตัวเองจากผู้อื่นเพราะเราไปสัมผัสผู้ป่วยโควิด 19 มา แม้ว่าเราจะไม่มีอาการเลย ช่วงการกักตัวนี้เราต้องสังเกตอาการตัวเอง จุดประสงค์ของการกักตัวคือป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ผู้ป่วยโควิด 19 สามารถแพร่เชื้อได้ในทันที ดังนั้นการกักตัวจึงเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ

ในกรณีนี้

  • หาพื้นที่กว้างที่ระบายอากาศได้ดี พร้อมอุปกรณ์ดูแลสุขอนามัยของมือและห้องน้ำ
  • หากเป็นไปไม่ได้ ให้แยกเตียงออกห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
  • รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว
  • ติดตามอาการรายวัน
  • แยกตัวเอง 14 วัน แม้จะรู้สึกแข็งแรงดี
  • หากมีอาการหายใจลำบาก ติดต่อผู้ให้บริการทางการแพทย์ คิดบวกและสร้างพลังให้ตัวเอง

อย่างไรก็ตาม หากท่านอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ท่านต้องเฝ้าระวังอาการ  ไข้และไปพบแพทย์ เมื่อไปสถานพยาบาล ควรสวมหน้ากากและเว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่นและไม่เอามือไปจับพื้นผิวต่างๆ หากเป็นเด็กป่วย ให้ดูแลเด็กให้ทำตามคำแนะนำนี้ด้วย

 

ความแตกต่างระหว่างการแยกตัว การกักตัว และการเว้นระยะ คืออะไร

การกักตัว คือการจำกัดกิจกรรมต่างๆ หรือการแยกผู้ที่ไม่ป่วย แต่อาจมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด 19 จุดประสงค์คือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในห้วงเวลาที่คนเริ่มมีอาการ

การแยกตัว หมายถึงการแยกผู้ป่วยที่มีอาการของโรคโควิด 19 และอาจแพร่เชื้อได้ จึงทำเพื่อป้องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

การเว้นระยะ คือการอยู่ห่างกันและกัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น ส่วนนี้เป็นมาตรการทั่วไปที่ทุกคนควรทำถึงแม้ว่าจะแข็งแรงดีและไม่มีประวัติสัมผัสโรคโควิด 19 เลยก็ตาม

 

เด็กหรือวัยรุ่นติดเชื้อโควิด 19 ได้หรือไม่

งานวิจัยระบุว่าเด็กและวัยรุ่นก็มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อได้เท่ากับกลุ่มอายุอื่นๆและสามารถแพร่เชื้อได้

หลักฐาน ณ ปัจจุบันบ่งชี้ว่าเด็กและวัยหนุ่มสาวจะไม่ค่อยมีอาการรุนแรง แต่อาการรุนแรงก็ยังคงเกิดได้ในกลุ่มอายุนี้

ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ควรทำตามข้อแนะนำเรื่องการกักตัวและการแยกตัวหากมีความเสี่ยงสัมผัสโรคหรือมีอาการต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เด็กควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรง


ขณะนี้มีวัคซีน ยาหรือการรักษาโควิด 19 โดยเฉพาะหรือไม่

 

ขณะที่ยาแผนปัจจุบัน แผนโบราณและการรักษาตามบ้านหลายตำรับอาจทำให้สบายขึ้นและบรรเทาอาการได้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง แต่ก็ยังไม่มียาป้องกันหรือรักษาโควิด 19โดยเฉพาะ องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้กินยาเองซึ่งรวมถึงยาปฏิชีวนะต่างๆไม่ว่าจะกินเพื่อป้องกันหรือเพื่อรักษา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการทดลองทางคลิกนิกเพื่อทดลองยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณหลายสูตร องค์การอนามัยโลกอยู่ระหว่างการประสานความพยายามต่างๆที่จะพัฒนาวัคซีนป้องกันและยารักษาโควิด 19 นี้ และจะมาให้ข้อมูลข่าวสารเมื่อมีผลของการวิจัยออกมา

วิธีที่ได้ผลที่สุดที่จะป้องกันท่านและผู้อื่นจากโควิด 19 คือ

  • การล้างมือบ่อยๆ
  • เลี่ยงการเอามือมาสัมผัสตา จมูกและปาก
  • ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือข้อศอกเมื่อไอหรือจาม  
  • รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น

 

เชื้อไวรัสโควิด 19 สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวต่างๆได้นานแค่ไหน

สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรรู้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาบนพื้นผิวต่างๆคือ สามารถทำความสะอาดได้อย่างง่ายดายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับงานบ้านทั่วไป งานศึกษาวิจัยระบุว่าเชื้อนี้อาจมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวสเตนเลสและพลาสติกถึง 72 ชั่วโมง น้อยกว่า 4 ชั่วโมงบนทองแดง และน้อยกว่า 24 ชั่วโมงบนกล่องกระดาษแข็ง

เหมือนเช่นเคย เราควรทำความสะอาดมือด้วยการใช้เจลแอลกอฮอล์หรือล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เลี่ยงการสัมผัสตา ปากและจมูก

 

ยาปฏิชีวนะสามารถป้องกันและรักษาโรคโควิด 19 ได้หรือไม่

ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาการติดเชื้อไวรัสได้ ยาปฏิชีวนะจะได้ผลดีในการรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียเท่านั้น

โรคโควิด 19 เกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้น ยาปฏิชีวนะจึงใช้ไม่ได้ผล ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ในโรงพยาบาลแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการแทรกซ้อนของโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ดังนั้นจึงควรใช้ยาปฏิชีวนะภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

 


ข้อมูลมีคุณค่า

 “ในยุคของข้อมูลและสารสนเทศ มีปริมาณข้อมูลเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากผู้ใช้ที่มีอยู่ทั่วโลกจำนวนมาก ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล มีการใช้ศาสตร์ที่เรียกว่าวิทยาการข้อมูล (data science) ซึ่งมีความสำคัญและช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของข้อมูล และในขณะเดียวกันผู้ใช้จะได้รับความรู้จากข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิทยาการข้อมูลด้วย” — หนังสือเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ ม.5)"

ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ (Information Age)

ในยุคของข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการคมนาคม การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม ทำให้การนำข้อมูลมาใช้ไม่สะดวก ไม่ทันกาล สูญหายง่าย

การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (digitization) และการพัฒนาการของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ทุกที่ทุกเวลา

-แผนที่กระดาษในรูปแบบเดิม ไม่สามารถแสดงข้อมูลการจราจรที่เป็นปัจจุบัน และไม่สามารถวางแผนการเดินทางได้ แต่ระบบแผนที่นำทาง (Global Positioning System: GPS) นอกจากแสดงสถานที่ต่างๆ แล้ว ยังมีข้อมูลสภาพการจราจร ระยะเวลาเดินทาง ซึ่งมีความแม่นยำ ช่วยประหยัดเวลา

ในปัจจุบัน เราไม่เป็นเพียงผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสร้างข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกัน

  • การอัพโหลดรูปภาพส่วนตัว การส่งอีเมล์ในแต่ละวัน การโพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ การส่งต่อข้อความผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ ผู้ใช้คนอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้

จัดได้ว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่มีความสำคัญ แต่หากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ได้ถูกนำมาประมวลผล ก็จะไม่เกิดคุณค่าใดๆ ดังคำกว่าที่ว่า “ข้อมูลนั้นมีค่าดั่งน้ำมันดิบ”

วิทยาการข้อมูล (Data Science)

-วิทยาการข้อมูล เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ วิธีการ หรือเทคนิค ในการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลมาประมวลผล เพื่อให้ได้องค์ความรู้ เข้าใจปรากฏการณ์ ใช้ตีความ ทำนาย พยากรณ์ ค้นหารูปแบบ แนวโน้มจากข้อมูล และสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอด เพื่อแนะนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด



ยุค 5G/6G , Iot , AI

 ยุค  5G/6G ,  Iot  , AI

5G 
จะสามารถตอบสนองได้แบบ real-time พูดคุย สั่งงาน ทุกสิ่งที่คุณเชื่อมต่อ แบบไม่มีดีเลย์เลย
เรื่องการรองรับผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม เพราะ 5G นั้นมีเสาสัญญาณขนาดเล็ก เนื่องจากมีคลื่นความถี่ที่สั้นกว่า 4G จึงทำให้ต้องมีเสาสัญญาณติดอยู่ทั่วบริเวณ 5G ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Millimeter Waves ที่ความถี่สูงและความยาวคลื่นสั้นกว่า 4G ซึ่งปัญหาใหญ่ของมันก็คือมันส่งสัญญาณไปไม่ได้ไกลเท่าไหร่ ในคลื่นของ 4G เราอาจจะห่างจากเสาสัญญาณได้ไกลเกือบ 10 กิโลเมตร ส่วน 5G ไกลสุดได้แค่ประมาณ 300 เมตรเท่านั้น แถมยังผ่านผนังไม่ได้และถ้าอากาศไม่ดีฝนตกก็สัญญาณหายได้เช่นกัน
6G 
ในตอนนี้มีการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ราวๆ 1 terabit/second หรือประมาณ 100 เท่าของ 5G จากคำอธิบายของ Stocia และ Abreu พวกเขาบอกว่ามันจะทำให้เหล่า AI นั้นเชื่อมโยงหากันและช่วยกันแก้ไขปัญหาระดับที่ซับซ้อนในทันที ยกตัวอย่างเช่นการขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับในเมืองขนาดใหญ่ที่ต้องมีการเชื่อมโยงกันและส่งต่อข้อมูลถึงกันอย่างมหาศาลระหว่างสมองกลที่เกี่ยวข้องในวินาทีนั้น คิดถึงรถยนต์จำนวนเกือบสามล้านคันที่เข้าออกเมืองหลวงอย่างนิวยอร์กทุกวัน นี่จะเป็นปัญหาที่ได้รับการแก้ไขโดยสมองกลที่สื่อสารกันตลอดทุกวินาที 

Internet of Things (IoT) 

Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น

Artificial Intelligence (AI)
AI ย่อยมาจาก Artificial Intelligence หรือแปลเป็นไทยว่า “ปัญญาประดิษฐ์” เป็นระดับขั้นหนึ่งในวิทยาการคอมพิวเตอร์ คำว่า AI พื้นฐานของ AI คือเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบให้มีระบบทำงานเหมือนกับการทำงานของสมองมนุษย์ , AI ที่ใช้กันในวงกว้างทุกวันนี้ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายจะเลียนแบบการทำงานให้เหมือนกับสมองมนุษย์เสียทีเดียว แต่สิ่งที่มุ่งหวังคือ “output” ของ AI จะสามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้โดยตรง ปัจจุบันซอฟต์แวร์หลาย ๆ ตัวที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI นั้น ต่างก็ต้องการให้ผู้ใช้ได้รู้สึกเหมือนตอบโต้กับมนุษย์ด้วยกันให้ได้มากที่สุด AI ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบพร้อมเช่นเดียวกับมนุษย์ที่เกิดใหม่ ต่างก็ต้องเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ การเรียนรู้ของ AI เหมือนกับมนุษย์ คือรับรู้ข่าวสาร ข้อมูล แล้วนำมาประมวลผล จากนั้นก็จัดเก็บ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Big data

 

Big Data (บิ๊ก ดาต้า) คือ
    คำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า Suppliers พฤติกรรมผู้บริโภค Transaction ไฟล์เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปจนถึง รูปภาพ URLs ลิงค์ต่างๆที่คุณเก็บไว้ ฯลฯ ที่มีปริมาณมากจนกระทั่งซอฟต์แวร์ปกติทั่วไปไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลได้คือย่างเต็มประสิทธิภาพ 

ซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมหรือ Platform ไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้


คุณลักษณะของ Big Data (4V)

  1. ที่มีปริมาณมาก (Volume) ปัจจัยข้อแรกแน่นอนว่าคำว่า Big Data มีคำว่า “Big” นั่นก็คือข้อมูลที่ขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป
  2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กันอย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิดข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้
  3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) หมายถึงรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ ฯลฯ และหลากหลายแหล่งที่มาเช่น Social Network หรือ Platform E- Commerce ต่างๆ
  4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้
Big Data คือ

แล้วทำไม Big Data ถึงมีความสำคัญ ?

ปัจจุบันอะไรๆก็ Big data แล้วทำไมมันถึงสำคัญ แท้จริงแล้วความสำคัญของ Big data ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่องค์กรของคุณมีอยู่ แต่เป็นสิ่งที่คุณสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรได้อย่างไร

Big Data ช่วยให้คุณสามารถใช้ข้อมูลจากทุกแหล่งที่เป็นไปได้ และวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้น (Customer Insight) ลดต้นทุนได้ ลดเวลาระยะเวลาดำเนินการ และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ปัจจุบันหลายบริษัทได้นำ Big Data มาประยุกต์ใช้ในส่วนของการขายและการตลาดของธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการรองรับ Big Data แบบที่เราเข้าใจได้ง่ายๆ และเห็นอยู่บ่อยๆ ก็อย่างเช่น Google Analytics หรือ ระบบ ERP เป็นต้น

ขอยกตัวอย่างเช่น บริษัท E-Commerce ชื่อดังของโลก ได้นำ Big Data ไปใช้ในการแนะนำสินค้าแบบอัตโนมัติและปรับราคาสินค้าแบบ Real-time (Pricing Engine) ให้ตรงกับจุดที่ลูกค้าเห็นค่าของสินค้า (Value) และเกิดความเต็มใจที่จะจ่าย โดยอาศัยข้อมูลพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์และเลือกซื้อสินค้า ข้อมูลการซื้อในอดีต ข้อมูลการค้นหาข้อมูลการเลือกซื้อสินค้าผ่านทาง Search Engine ราคาสินค้าคู่แข่ง จำนวนสินค้าที่เหลืออยู่ เพื่อเพิ่มยอดขายในกับธุรกิจจากการที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น















วิทยาการข้อมูล(data science)

วิทยาการข้อมูล(data science)

    วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง (Actionable knowledge) อย่างเช่น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด และทิศทางขององค์กรในอนาคต
    โดยหลักการแล้ว Data Science ประกอบขึ้นจากศาสตร์หลักๆ คือ Hacking Skill (สกิลเกี่ยวกับ Computer Programimg, Data Base, Big data Technologies)  Statistic & Math (ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์)  Substantive Expertise (หรือ Domain Knowledge)  Presentation (ทักษะการนำเสนอข้อมูล) และ Visualization 

    Data Science ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่มันคือการนำความรู้เดิมที่มีอยู่มารวมและประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นของใหม่ ด้วยลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในโลกปัจจุบัน การเข้ามาของ Internet of Things  หรือ Censor ต่างๆ ตลอดจน Social media ทำให้เกิดเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และนำมาสู่ Data Science นั่นเอง


    สำหรับงาน Data science จะมีกระบวนตามขั้นตอนดังนี้
- ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ
- เก็บรวบรวมข้อมูล
- การสำรวจข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล (analyze the data)
- การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เห็นเป็นภาพ (communicate and visualize the results)